Gerund
gerund มีรูปแบบเช่นเดียวกับ present participle คือมีรูป "กริยา+ing" ต่างกันที่การใช้ กล่าวคือ present participle มีความหมายครึ่งกริยาครึ่งคุณศัพท์ (verbal adjective) ส่วน gerund นี้มีความหมาย ครึ่งกริยาครึ่งนาม (verbal noun) ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า กริยานาม (verbal noun)
ภารกิจ (function) ของ gerund
1. ใช้ทำหน้าที่ได้อย่างคำนาม
(ก) เมื่อเป็นประธาน(subject)ของกริยา
1. Swimming is a good exercise.
การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดี
2. Working in this condition is pleasure.
การทำงานในสภาพอย่างนี้เป็นสิ่งน่าสนุก
(ข)เป็น complement ของ กริยา
1. The only thing that interests her is dancing.
สิ่งเดียวที่ทำให้เธอสนใจคือการเต้นรำ
2. Seeing is believing.
การเห็นคือการเชื่อ
(ค)เป็นกรรมของกริยา (object) ของกริยา
1. I remember seeing him.
ผมจำได้ว่าเห็นเขา
2. She likes dancing.
หล่อนชอบการเต้นรำ
(ง)เป็นกรรม (object)ของ preposition
1. He began by explaining the meaning of certain words.
เขาเริ่มต้นด้วยการอธิบายความหมาบของคำบางคำ
2. She is very fond of dancing.
หล่อนชอบเต้นรำมาก
3. Thank you for returning the book.
ขอบคุณที่นำหนังสือมาคืน
4. He left without saying anything.
เขาจากไปโดยไม่พูดอะไรเลย
2. อาจใช้คล้าย ๆ กับเป็นคำกริยา
(ก) สามารถมี (object) ได้เช่น
1. His hobby is collecting stamps.
งานอดิเรกของเขาคือการเก็ยรวบรวม(สะสม)แสตมป์
2. Meeting you has been a great pleasure.
การพบคุณทำให้ผมมีความพอใจมาก
(ข) สามารถมี adverb มาประกอบได้เช่นเดียวกับคำกริยา เช่น
1. She likes driving fast.
หล่อนชอบขับรถเร็ว
2. Reading well will need a lot practice.
การอ่านให้ได้ดีนั้นต้องใช้การฝึกฝนให้มาก ๆ
มีหลายคนมักสับสนกับความแตกต่างระหว่าง Gerund กับ Present Participle
Grammarman เห็นว่า อาจจะมีอีกหลายคนที่สงสัยและอยากรู้อยู่เหมือนกันก็เลยไปค้นคว้ามาเล่าให้กันฟังซักหน่อย
โดยปกติแล้วเวลาพูดถึง sentence หรือ clause ก็ตาม เราจะเห็นได้ว่า sentence หรือ clause ที่สมบูรณ์จะต้องมี verb แท้ (finite verb) เสมอ แต่ถ้าเราต้องการลดรูป sentence (ประโยคหลัก)หรือ clause (ประโยคย่อย) ให้เป็น phrase (วลีหรือกลุ่มคำ) หล่ะก็
เราก็จะต้องดัดแปลง v. แท้ ให้เป็น v. ไม่แท้ซะก่อน เพราะมันไม่สามารถแสดงรูป tense ด้วยตัวเองได้
v. ไม่แท้ (non-finite verb) มีอยู่ 4 รูป คือ
- To infinitive ( to v.)
- Infininitive without to ( v.)
- Past Participle (v. ช่อง 3)
- Present Participle (v.ing)
ไอ้ตัวสุดท้ายเนี่ยแหละมันดันมามีหน้าตาเหมือนกันเด๊ะเลยกับ ไอ้ Gerund
เอาหล่ะ เมื่อเจอ v.ing ที่ไหน ให้ลองสรุปสุ่มๆไปก่อนเลยว่า ถ้ามันไม่ใช่ Gerund ก็เป็น Present Participle ชัวร์ 100%
เริ่มอยากรู้แล้วใช่มั๊ยหล่ะ จะขอพูดสั้นๆ แบบให้เข้าใจกันง่ายๆ ไปเลย ไป๊..
ตามหลักแล้ว Gerund จะทำหน้าที่เหมือน n. ก็แสดงว่า n. เป็นยังไง Gerund ก็เป็นยังงั้น
เพราะมันทำหน้าที่เหมือนกันเลย (อธิบายยืดยาวไปมั๊ยเนี่ย)
ปกติ n. จะรับบทเป็น subject ,object และ complement (ส่วนเติมเต็มของประโยค) อยู่แล้ว
Gerund ก็เช่นเดียวกัน
ดูตัวอย่างนิดส์นึง
I like eating.
จะเห็นได้ว่า eating ในประโยคนี้ทำหน้าที่เป็น object ของ like เราก็เลยสามารถรู้ไว้ว่ามันคือ
เจ้า Gerund น้อยนั่นเอง
Eating too much makes me fat.
ประโยคนี้ eating เป็น subject มันก็เหมือน n. เลยนี่ มันก็คือ Gerund ไง
My hobby is reading.
ประโยคนี้ reading ทำหน้าที่เป็น complement (ส่วนเติมเต็มของประโยค)
เพราะ v. to be เป็น v. ที่ไม่ต้องการกรรมนะจ๊ะ ดังนั้น reading จึงเป็น Gerund อีกแล้วครับผม
ถ้าใครยังไม่เข้าใจ กลับย้อนขึ้นไปอ่านข้างบนใหม่นะจ๊ะ ว่าแล้วจะเข้าใจทันที
มาดูไอ้เจ้า Present Participle มั่ง
มาทวนกันก่อน นิดส์นึง
Gerund หรือ v.ing ทำหน้าที่เหมือน n. คือ สามารถเป็น subj. ,obj.,และ complement ของประโยค
ในขณะที่ Present Participle ก็คือ v.ing เหมือนกัน แต่ต่างจาก Gerund นะ
ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ
1. เมื่อมีหน้าที่เหมือน adj. คือ วางไว้หน้า n. เพื่อขยาย n.
An exciting movie
A swimming pool
The answering machine is out of order.
2. เมื่อใช้ v.ing ตามหลัง v. บางตัว
She was raughing when I saw her.
I heard you singing.
We found the fire burning the house.
Gerund คือคำกริยาที่เติม ing แล้วนำมาใช้อย่างนาม(กริยานาม) Verbal noun เช่น Walking, studying etc. ทำหน้าที่ได้ 5 อย่าง คือ
1. ใช้เป็นประธานของกริยาในประโยคก็ได้ เช่น Swimming is a good exercise.
2. ใช้เป็นกรรมของสกรรมกริยาก็ได้ เช่น She remembered seeing me.
3. ใช้เป็นกรรมของบุรพบทได้ เช่น We are found of learning English.
4. ใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาได้ เช่น His duty is cleaning.
5. ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามผสม(หรือคุณศัพท์) และนิยมใช้ Hyphen (-) มาคั่นไว้เสมอ เช่น Reading-room, Swimming pool …etc.
* อนึ่งโดยปรกติทั่วๆไปแล้ว Gerund และ Infinitive สามารถใช้แทนกันได้ ในทุกกรณีและมีความหมายเหมือนกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใช้ แต่ยังมีกริยาบางตัวที่มี Gerund และ Infinitive มาเป็นกรรมแล้วจะมีความหมายต่างกันมาก ซึ่งเราควรศึกษากันในภายหลัง.
Study English
20090825
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment