*ชื่อเรื่อง : * *บทความภาษาอังกฤษ*
ชื่อผู้แต่ง : FWR.SilverSky <../Room/AliasProfile.aspx?ID=34182>
ชื่อตอน : Tak Bat Devo and Chak Phra Festivals-เทศกาลตักบาตรเทโวและประเพณี
ชักพระ
ตอนที่ : 16
อัพเดตเมื่อ : 26/12/2551 22:09:49
เข้าชม : 1635
เนื้อเรื่อง
Tak Bat Devo and Chak Phra Festivals
There is a Buddhist myth that during one Rains Retreat or “Khao
Phansa” Lord Buddha went to heaven to deliver a sermon to his mother
who died after giving birth to Lord Buddha (then Prince Siddharatha)
and was born again in heaven. The sermon given was said to last for
the entire period of the Rains Retreat (3 months).
Upon completing his mission in heaven, Lord Buddha then returned to
earth and was greeted by a crowd of his disciples and followers. To
commemorate this event, two public festivals are held, namely; the
“Tak Bat Devo” in the central region and the “Chak Phra” in the
south. Both portray the event of Lord Buddha’s return to earth and
annually take place immediately after the end of the 3-month Rains
Retreat. However, the celebration of these two festivals may be
different in its preparation and practices. In other words, Tak Bat
Devo means “offering of food to Buddhist monks”. The celebration is
an imitation of Lord Buddha’s descent from heaven. Thus, a high
place such as the hill is preferably used as a starting point, the
Golden Mount of Wat Sraket in Bangkok is a good example of this. But
for the temple built far away from the hill, the consecrated
assembly hall (or Uposatha) can also be used as a starting point.
When all is ready, the row of Buddhist monks, headed by the image of
a standing Buddha carried by men representing God Indra and God
Brahma, will move slowly along the path arranged in advance. People
then offer a variety of food and fruit to the passing monks. The
rite ends when the last monk in the row finishes the entire route.
Meanwhile, Chak Phra literally means “pulling of the Buddhist monks”
and it is celebrated in many southern provinces such as Nakhon Si
Thammarat, Pattani, Phatthalung, Songkhla and Yala. The most
impressive Chak Phra festival is on the Tapi River in Surat Thani
Province. To mark this occasion, two float-pulling ceremonies are
held, one on land and the other on water. On land, the splendidly
adorned floats are pulled across the town by the participants of the
ceremony. At the same time, on water, the ceremony is highlighted by
a float decorated in colourful Thai design of a float made to carry
the Buddha image. This float is then towed to the middle of the
river for a religious ceremony. On the following day, the float
carrying the Buddha image is towed along the river so that people
can worship and make merit. Both land and river events are highly
colourful. The Chak Phra festival then concludes with an exciting
boat race and a traditional game.
เทศกาลตักบาตรเทโวและประเพณีชักพระ
ตามตำนานทางศาสนาพุทธกล่าวว่าในช่วงฤดูเข้าพรรษาฤดูกาลหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ผู้ซึ่งหลังจากที่
คลอดเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก็สิ้นพระชนม์ลงและได้เกิดเป็นเทพยาอยู่บนสวรรค์ในเวลาต่อมา
กล่าวกันว่าพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระมารดานี้มีความยาวตลอดทั้งพรรษา (3 เดือน)
จึงจบลง
หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจบนสวรรค์แล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ พระองค์ได้รับ
การต้อนรับจากฝูงชนทั้งที่เป็นพระสาวกและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการ
ระลึกถึงวันนี้ในครั้งพุทธกาล จึงได้มีการจัดงานเทศกาลขึ้น 2 งานด้วยกันกล่าวคือ “ตักบาตร
เทโว” ซึ่งจัดขึ้นในภาคกลางและ “ประเพณีชักพระ” จัดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศ ทั้ง 2
งานนี้ต่างก็จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นการเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และทุกๆ ปีก็จะจัดให้มีขึ้นทันทีหลังจากออกพรรษาแล้ว อย่างไรก็ตามการเฉลิมฉลองของงาน
เทศกาลทั้ง 2 นี้ อาจจะแตกต่างกันบ้างทางด้านการตระเตรียมงานและถือปฏิบัติกล่าวคือ การ
ตักบาตรเทโวซึ่งหมายถึง “การถวายอาหารแก่พระสงฆ์” งานฉลองจึงเป็นการจำลอง
เหตุการณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของขบวนแห่จึงมักนิยมใช้ที่
สูงๆ เช่นเนินเขา สำหรับในกรุงเทพมหานครนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภูเขาทอง วัดสระ
เกศ แต่สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ห่างจากเนินเขาก็จะใช้พระอุโบสถเป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่
เมื่อทุกคนเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์จะยืนเรียงแถวในขบวนซึ่งจะนำโดยพระพุทธรูปในท่ายืน
อัญเชิญโดยชายผู้ซึ่งได้รับการสมมุติให้เป็นพระอินทร์และพระพรหม แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนขบวน
แห่ไปตามทางที่เตรียมไว้ ประชาชนก็จะถวายอาหารและผลไม้ต่างๆ แก่พระสงฆ์ที่จะเดินผ่าน
มาข้างหน้าตน พิธีจะจบลงเมื่อพระสงฆ์รูปสุดท้ายในขบวนเดินครบรอบ
ในขณะเดียวกัน คำว่า “ชักพระ” ถ้าแปลตามตัวก็คือ “การดึงพระ” นั่นเอง และส่วนใหญ่ก็จะ
จัดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ที่นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง สงขลา และยะลา
ประเพณีชักพระที่น่าตื่นตามากที่สุดก็เห็นจะเป็นที่แม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นการ
ฉลองโอกาสนี้ก็จะมีพิธีจัดขบวนแห่ขึ้น 2 ขบวนพร้อม ๆ กันกล่าวคือ สำหรับแห่ทางบกและทาง
น้ำ สำหรับขบวนแห่ทางบกนั้นก็จะมีการประดับประดารถขบวนอย่างสวยงามแล้วก็จะถูกลากไป
รอบ ๆ เมือง โดยผู้ที่มาเข้าร่วมในขบวนแห่นั้น ในขณะเดียวกันประเพณีทางน้ำนั้นก็มีจุดเด่นอยู่
ที่การประดับตกแต่งทุ่นหรือแพปะรำพิธีด้วยลวดลายไทยสีต่าง ๆ เพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป
ทุ่นนี้ก็จะถูกลากจูงไปยังกลางแม่น้ำเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา พอถึงวันรุ่งขึ้นทุ่นที่ใช้ประดิษฐาน
พระพุทธรูปนี้ก็จะถูกลากจูงไปตามลำน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและทำบุญ ขบวนแห่ทั้ง
ทางน้ำและทางบกต่างก็เป็นเหตุการณ์ที่สวยงามมาก ประเพณีชักพระนี้ก็จะจบลงด้วยการแข่ง
เรืออันน่าตื่นตาตื่นใจพร้อมกับการละเล่นทางประเพณีต่าง ๆ
Study English
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment