*ชื่อเรื่อง : * *บทความภาษาอังกฤษ*
ชื่อผู้แต่ง : FWR.SilverSky <../Room/AliasProfile.aspx?ID=34182>
ชื่อตอน : Chakri Day-วันจักรี
ตอนที่ : 22
อัพเดตเมื่อ : 21/1/2552 22:40:09
เข้าชม : 1520
เนื้อเรื่อง
Chakri Day
April 6 marks the anniversary of the founding of the present Chakri
Dynasty of which the present ruling monarch, King Bhumibol the
Great, is the ninth king.
The Chakri Dynasty was founded by Phra Buddha Yodfa Chulaloke, or
Rama I, who was born on March 20, 1737 with the name of Thong Duang
and came to the throne on April 6, 1782. He ruled the country for 28
years. During his reign he consolidated the kingdom in such a way
that there was no further fear of invasion from enemies. King Rama I
has been praised as an accomplished statesman, a lawmaker, a poet
and a devout Buddhist. Thus, his reign has been called a
“reconstruction” of the Thai state and Thai culture. He was the
monarch who established Bangkok as the capital of Thailand, and this
is the most long-lasting creation which gains popularity as the
“City of Angels”. King Rama I passed away on September 7, 1809 at
the age of 72.
King Rama I’s son, Phra Buddha Loetla Naphalai, or Rama II, then
acceded to the throne. It was during his reign that a renaissance of
Thai arts and culture came about, especially in literature. The King
himself was a man gifted with artistic talent. Phra Nang Klao came
next. He fortified the country with a strong defence force and
commissoned many buildings, it was during his reign that Thai arts
reached the highest peak since Ayutthaya period. It is said that the
reigns of King Rama II and III constituted a Golden Age of
Literature and Arts, similar to King Narai’s in Ayutthaya. King Rama
III or Phra Nang Klao was succeeded by King Mongkut (Rama IV) who
was a bold religious leader. He started the commercial contacts with
foreign countries and was responsible for the introduction of
western science and modernisation into Thailand. Then came King
Chulalongkorn, the benevolent monarch. During his reign of 42 years,
many changes and reforms were made in Thailand. Slavery was
abolished, modern system of administration was introduced, efficient
law courts were established, education was systematically spread,
and the financial system was revised.
King Vajiravudh, who succeeded King Chulalongkorn, further
consolidated and developed what had been accomplished in the
previous 40 years. He contributed much to the national language and
literature so much so that he was sometimes called the poet who was
a king. The outstanding achievement of his reign is perhaps a number
of new treaties concluded between Thailand and other powers as it
helped enhancing the prestige of Thailand. The King also introduced
the use of tricolour flag to replace the old red flag with a white
elephant.
King Vajiravudh passed away on November 26, 1925 and was succeeded
by his younger brother King Prachadhipok, the seventh king of Chakri
Dynasty who reigned as the last absolute monarch. On June 24, 1932 a
revolution took place and his Majesty accepted the proposal of a
constitutional regime. On March 2, 1934 the King abdicated and later
died in exile, leaving the throne to his nephew, King Ananda
Mahidol, who after 11 years rule met a sudden death leaving the
throne to his younger brother, King Bhumibol Adulyadej, the present
monarch.
On Chakri Day, His Majesty King Bhumibol accompanied by members of
royal family presides over a religious ceremony performed to give
merit to the deceased rulers at the Royal Chapel, then pays respects
to His Majesty’s Predecessors at the Royal Pantheon and lays a
wreath at the statue of King Rama I at the Memorial Bridge. On this
occasion, the Prime Minister, Ministers, high ranking officers,
students, public and private organisations and people from all walks
of life take part in a wreath-laying ceremony and make merit for the
great kings who dedicated the best part of their lives for the
betterment of their subjects.
วันจักรี
วันที่ 6 เมษายน เป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ใน
ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 แห่ง
ราชวงศ์นี้
ราชวงศ์จักรีก่อตั้งโดยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงประสูติ
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2280 มีพระนามเดิมว่า “ทองด้วง” และเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงครองราชย์อยู่เป็นเวลา 28 ปี ในช่วงรัชสมัย
ของพระองค์ พระองค์ทรงรวบรวมราชอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคง จนกระทั่งไม่ต้อง
เกรงกลัวการรุกรานจากอริราชศัตรูอีกต่อไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงได้รับการ
สรรเสริญว่าทรงเป็นรัฐบุรุษผู้ปรีชาสามารถ เป็นนักกฎหมาย เป็นกวีและชาวพุทธผู้เลื่อมใส
ศรัทธาในพระศาสนา ดังนั้น รัชสมัยของพระองค์จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นยุคของ “การ
สร้างสรรค์ฟื้นฟู” แห่งรัฐและวัฒนธรรมไทยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงเทพมหานครให้
เป็นเมืองหลวงของไทย และนี่ก็คืองานสร้างสรรค์ที่คงอยู่ตลอดกาลจนได้รับชื่อเสียงว่าเป็น
“เมืองเทพยดา” พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 เมื่อพระชนมายุได้
72 พรรษา
พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 คือสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือสมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ 2 ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อมา ในช่วงรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่ได้มีการ
ฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมไทยกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวรรณคดี สมเด็จพระรามา
ธิบดีที่ 2 เองก็ทรงพระอัจฉริยะภาพในด้านศิลป์ รัชกาลต่อมาก็คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดให้สร้างป้อมปราการในประเทศและเสริมสร้างกำลังกองทัพให้
แข็งแกร่ง นอกจากนี้ก็ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งปลูกสร้างอีกหลายอย่าง ในช่วงรัชสมัยของพระองค์
นี่เองที่ศิลปะก้าวถึงจุดเจริญรุ่งเรืองสุดขีดนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา กล่าวกันว่าใน
รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และที่ 3 นี้เปรียบได้กับ “ยุคทอง” แห่งวรรณคดีและ
ศิลปะ เปรียบได้กับยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาก็ว่าได้ สมเด็จพระรา
มาธิบดีที่ 3 หรือสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการสืบทอดราชสมบัติโดยพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 หรือพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ผู้ซึ่งทรงเป็นผู้นำที่
ทรงพระอัจฉริยะด้านการศาสนา พระองค์ทรงริ่เริ่มการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและทรงริ
เริ่มให้มีการใช้วิทยาศาสตร์ตะวันตกและนำความทันสมัยมาสู่ประเทศไทย และต่อจากรัชสมัย
ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยะมหาราช ในช่วงแห่ง
การครองราชย์เป็นเวลา 42 ปี ของสมเด็จพระปิยะมหาราชนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและการ
ปฏิรูปมากมายหลายอย่างในประเทศไทย กล่าวคือ มีการเลิกทาส ได้มีการนำเอาระบบการ
บริหารแบบสมัยใหม่เข้ามาใน ประเทศ มีการจัดตั้งการศาลที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาได้ถูก
แพร่ขยายออกไปอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ระบบการเงินก็ยังได้มีการปรับปรุงใหม่อีกด้วย
สมเด็จพระมหาวชิราวุธทรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงสานงานต่อโดยการรวบรวมความเป็นปึกแผ่นและพัฒนาประเทศ
ชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปจากเดิม พระองค์ได้ทรงช่วยจรรโลงภาษาและวัฒนธรรมของชาติ
อย่างมาก จนกระทั่งบางครั้งมีผู้กล่าวว่าพระองค์คือนักกวีที่เป็นกษัตริย์ ความสำเร็จอันยอด
เยี่ยมในรัชสมัยของพระองค์ก็คือ สนธิสัญญาใหม่ ๆ หลายฉบับที่ทำขึ้นระหว่างประเทศไทยและ
ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เพราะเท่ากับเป็นการช่วยเสริมศักดิ์ศรีของประเทศไทย พระองค์ยัง
ทรงโปรดให้มีการนำธงไตรรงค์มาใช้แทนธงสีแดงมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางซึ่งเป็นแบบเก่าอีกด้วย
สมเด็จพระมหาวชิราวุธเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และได้รับการสืบ
ทอดราชสมบัติโดยพระอนุชาคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์องค์ที่
7 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ซึ่งครองราชย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชองค์สุดท้าย) เพราะเมื่อวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก็ได้เกิดการปฏิวัติขึ้น และพระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มี
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงสละ
ราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 และทรงเสด็จสวรรคตในเวลาต่อมาในขณะที่ยัง
ทรงเนรเทศพระองค์เองอยู่ในต่างประเทศ ทรงสละพระราชบัลลังก์ไว้ให้พระราชนัดดา (พระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) พระองค์ผู้ซึ่งครองราชย์อยู่เป็นเวลาเพียง 11 ปี ก็
ทรงเสด็จสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วน พระเจ้าน้องยาเธอ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ
พลอดุลยเดชมหาราช) ทรงสืบราชบัลลังก์ในเวลาต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เนื่องในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุ
วงศ์ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนาเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระ
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วทรงสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ ณ
ปราสาทพระเทพบิดร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสรณ์ของพระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นิสิตนักศึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชนและประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ
ต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรง
อุทิศพระองค์เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างแท้จริง
Study English
20090815
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment