*ชื่อเรื่อง : * *บทความภาษาอังกฤษ*
ชื่อผู้แต่ง : FWR.SilverSky <../Room/AliasProfile.aspx?ID=34182>
ชื่อตอน : The Giant Cat Fish-ปลาบึก
ตอนที่ : 19
อัพเดตเมื่อ : 21/1/2552 22:12:46
เข้าชม : 3425
เนื้อเรื่อง
The Giant Cat Fish
Every year, at Hat Krai Village of the northernmost province of
Chiang Rai between April and May, Thai and Laotian fishermen will be
very busy casting their 250-metre long nylon net to catch the Gian
Catfish in the Mekong River
The Giant Catfish is known in Thai as “Pla Buk”. This giant of
freshwater and the King of Mekong River can grow up to 300
kilogrammes and 3 metre after 15 years. During this period of the
year as it is the mating season the fish will migrate up the river
to spawn. Unfortunately, on the way they become the victims of the
deathtrap laid by the fishermen of the two countries.
In fact, before catching the fish, the Brahmin rituals must be held
in order to please the Father-spirit of Pla Buk. It is believed
ceremony. After performing the rituals, Thai and Laotian fishermen
will build temporary bamboo shelter on their respective islands.
After each crew has offered a chicken and local-made liquor to the
guardian spirit of their boat, they then burn a special herb to
drive away the evil ghosts from the net. Not the hunting begins.
The fishing rotation is decided by a draw. Everybody is waiting for
his turn enthusiastically and immediately after a Thai team has
gone, a Laotian boat is ready to push off.
It is said that the problem in its flesh is good for nourishing the
brain much more than any other animal protein and it is also
believed that whoever tastes the fish will have a long life and
become clever. So its meat has become favourite and expensive dish
served in leading restaurants in nearby province and also in
Bangkok. Each season about 25-30 giant catfishes will be caught by
fishermen of the two countries.
The fishing season also attracts a lot of attention from both local
and foreign tourists who are enthusiastic to see the freshwater
monster. Unless the fish faces extinction, the fishing season will
be carried on from generation to generation of both countries.
ปลาบึก
ทุกๆ ปีระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ที่หมู่บ้านหาดไคร้ในจังหวัดเชียงรายซึ่งอยู่
เหนือสุดของประเทศ ชาวประมงไทยและลาวจะยุ่งอยู่กับการวางอวนไนลอนที่มีความยาวถึง
250 เมตร เพื่อจับปลาบึกในลำน้ำโขง
The Giant Catfish นี้ภาษาไทยเรียกว่า “ปลาบึก” ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็น
ราชาแห่งลำน้ำโขง เพราะว่ามันสามารถเจริญเติบโตจนมีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม และมี
ขนาดลำตัวยาวถึง 3 เมตร หลังจากอายุได้ 15 ปี ในช่วงระยะเวลานี้ของปีซึ่งเป็นฤดูวางไข่
ปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ อนิจจา! ในระหว่างการเดินทางไปวางไข่นี้เองที่เจ้าแห่ง
ลำน้ำโขงต้องมาสังเวยชีวิตให้กับชาวประมงทั้ง 2 ประเทศนี้
ที่จริงแล้วก่อนที่จะเริ่มจับปลานี้ จะต้องมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์เสียก่อน เพื่อเป็น
การเอาใจเจ้าพ่อปลาบึก เป็นที่เชื่อกันว่า ตลอดฤดูกาลจับปลานี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่
นั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพิธีเริ่มนี้ด้วย หลังจากเสร็จพิธีกรรมแล้วชาวประมงไทยและลาวก็จะทำ
การสร้างที่พักชั่วคราวด้วยไม้ไผ่บนฝั่งในประเทศของตน และหลังจากที่ลูกเรือแต่ละคนได้เซ่น
ไหว้ด้วยไก่และเหล้าขาวต่อแม่ย่านางประจำเรือของตนแล้ว พวกเขาก็จะเผาสมุนไพรชนิดหนึ่ง
เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายให้ออกไปจากอวน และนับจากนี้ไปการไล่ล่าก็จะเริ่มขึ้น
การจับปลาก็จะหมุนเวียนกันในแต่ละทีมของแต่ละประเทศทั้ง 2 โดยการจับฉลาก ทุกคนต่างก็
รอให้ถึงรอบของตนอย่างกระตือรือร้นและทันทีที่ทีมไทยบ่ายหน้าออกไป เรือของฝ่ายลาวก็
เตรียมพร้อมที่จะทะยานออกไปทันทีที่ถึงรอบของตน
กล่าวกันว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อของปลาบึกนี้เป็นอาหารบำรุงสมองได้ดีกว่าโปรตีนที่ได้จากสัตว์
อื่นๆ และยังเชื่อกันอีกว่าใครก็ตามที่ได้ลิ้มรสของปลานี้แล้วจะทำให้อายุยืนและชาญฉลาด ดังนั้น
ปลาบึกจึงดูเหมือนว่าจะกลายเป็นอาหารจานโปรดและค่อนข้างแพง ซึ่งมีบริการในภัตตาคารทั้ง
ในจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร แต่ละช่วงฤดูกาลชาวประมงของทั้ง 2 ประเทศ
สามารถจับปลาบึกได้ประมาณ 25-30 ตัว
นอกจากนี้ฤดูกาลจับปลาบึกยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้ซึ่ง
กระตือรือร้นที่จะดูเจ้าสัตว์ประหลาดน้ำจืดนี้อีกด้วย ตราบใดที่ปลาบึกยังไม่สูญพันธุ์ ฤดูกาลไล่ล่า
ก็จะยังคงมีการสืบทอดกันต่อๆ ไป โดยอนุชนรุ่นหลังของทั้ง 2 ประเทศ
Study English
20090815
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment