*ชื่อเรื่อง : * *บทความภาษาอังกฤษ*
ชื่อผู้แต่ง : FWR.SilverSky <../Room/AliasProfile.aspx?ID=34182>
ชื่อตอน : ประเพณีปอยส่างลอง The Poy Sang Long Festival
ตอนที่ : 7
อัพเดตเมื่อ : 18/9/2551 19:14:32
เข้าชม : 2379
เนื้อเรื่อง
The Poy Sang Long Festival
The Poy Sang Long is a three-day celebration of Buddhist novice
ordination which usually takes place in late March or early April of
every year in the Thailand’s most north-western province of Mae Hong
Sorn.
The festival is the custom and tradition of the Shans or Tai Yai an
ethnic Thai tribe who migrated from northern Burma and then
inhabited most of Mae Hong Sorn. The Tai Yais have a strong devotion
to Buddhism, and to follow their age-old tradition the young boys
between the age of 7 and 14 will be ordained as novices for a period
to learn the Buddhist doctrinces and to gain merit for their
parents. It is believed that the tradition is probably to follow in
the footsteps of Prince Rahula, the first Buddhist novice who was
the Buddha’s own son. The young prince gave up his worldly life to
follow his father’s spiritual teachings.
The festival is rich in colour and display making it a most exciting
event that draws residents of the entire province to take part.
Prior to the arrival of the three-day festival, the boys have their
heads shaved and are then bathed and anointed with special waters.
They are dressed up in jewelled finery and their faces are expertly
made up. These boys are known as the “Jewel Princes” or “Look Kaew”
in Thai.
In the early morning of the first day, the celebration begins with a
procession around the town. Accompanying the procession are flutes,
lutes, fiddles, drums and cymbals. In the procession, each boy is
accompanied by three attendants ; one to carry him, another to
shelter him from the sun with a tall gold umbrella, and the third to
guard the precious jewels. The Boys are led to visit relatives and
friends and then join the communion lunch. After the feast,
relatives and the elders tie white threads around the wrists of the
boys to protect them from evil spirits. Thus ends the first day of
the event.
On the second day, the same procession again takes place. This time,
the procession includes offerings for the Buddha, other necessities
for monks and a horse symbolising the vehicle of the spirit of the
city pillar. In the evening, after having dinner, there is the rite
of calling “spirit” or “Kwan” in Thai and a verbal recitation to
prepare the boys for the actual ordination in the following day.
The last day begins with the procession of the boys to the temple
for ordination. At the temple, the boys ask permission to be
ordained from the senior monks. Once accepted, the boys then take
vows, change the princely attires to yellow robes and become full
novices. The greatest event then ends here.
The Poy Sang Long Festival attracts a large number of Thai tourists
and has now become popular among foreign tourists as well.
ประเพณีปอยส่างลอง
ปอยส่างลองคือพิธีฉลองเป็นเวลา 3 วันของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธ ซึ่งโดยปกติก็
จะจัดให้มีขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ที่จังหวัด
แม่ฮ่องสอน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศไทย
พิธีนี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวฉานหรือไทใหญ่ (ชนกลุ่มน้อยชาวไทย ผู้ซึ่งอพยพมาจากทาง
เหนือของพม่าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในแม่ฮ่องสอนเสียเป็นส่วนใหญ่) ชาวไทใหญ่มีความเลื่อมใส
ศรัทธาในศาสนาพุทธมาก และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่ของพวกเขา เด็กหนุ่มอายุ
ระหว่าง 7 ถึง 14 ปี จะบรรพชาเป็นสามเณรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาพุทธธรรมและ
เพื่อให้บิดามารดาได้บุญกุศลอีกด้วย แต่เป็นที่เชื่อกันว่าบางทีประเพณีนี้ก็จัดให้มีขึ้นเพื่อตามรอย
เท้าเจ้าชายราหุล ผู้ซึ่งเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา และเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิ
ทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) เจ้าชายราหุลทรงสละโลกีย์วิสัย เพื่อดำเนินรอยตามคำสั่งสอนของ
พระบิดา
ประเพณีนี้หลากหลายไปด้วยสีสันและการแสดงมากมาย ทำให้เป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด
ที่ดึงดูดให้ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดมาเข้าร่วมพิธี แต่ก่อนที่จะถึงวันประเพณี เด็กชายจะต้องปลง
ผมและอาบน้ำ แล้วจึงเจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยเครื่องประดับเพชรพลอยเต็มยศ แต่งหน้า
แต่งตาสวยงาน ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกแก้ว”
แต่เช้าตรู่ในวันแรกของประเพณีนี้ การเฉลิมฉลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ไปรอบ ๆ เมือง ซึ่งใน
ขบวนแห่นี้ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย พิณ ซอ กลอง และฉิ่งฉาบ ในขบวนแห่
ลูกแก้ว แต่ละคนจะมีผู้ติดตาม 3 คน กล่าวคือ คนหนึ่งแบกลูกแก้ว อีกคนหนึ่งกางร่มที่มียอดสูง
ประดับทองกันแดดให้ และคนที่สามคอยปกป้องเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ ลูกแก้วเหล่านี้จะถูก
นำไปเยี่ยมญาติ ๆ และเพื่อน ๆ และแล้วก็ร่วมรับประทานอาหารรวมกัน หลังจากรับประทาน
อาหารแล้ว ญาติ ๆ และผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้ว เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้าย
ต่าง ๆ และแล้วพิธีวันแรกก็เป็นอันจบลง
ในวันที่สองขบวนแห่เดียวกันนี้ก็จะเริ่มทำกันอีก แต่คราวนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่อง
สักการะ เพื่อถวายพระพุทธ เครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ และมีม้าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพาหนะ
ของเจ้าพ่อหลักเมือง ในตอนเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวด
คำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้ว ผู้ซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น
วันสุดท้ายจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วก็จะกล่าวคำขออนุญาตเพื่อ
บรรพชาจากพระเถระ เมื่อท่านอนุญาต ลูกแก้วก็จะกล่าวคำปฏิญาณตน แล้วจึงเปลี่ยนเครื่อง
แต่งกายเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์
ประเพณีปอยส่างลอง ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันนี้ก็เป็นที่นิยมในหมู่
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกด้วย
Study English
20090815
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment